วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 1 Introduction to E-Business and E-Commerce



Introduction to E-Business and E-Commerce
โลกเสมือน (Virtual World) คือ การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆ กัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ นั่นหมายความว่า โลกเสมือนจะต้องรองรับ การใช้งานของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา (24 ชั่วโมงต่อวัน)

Location Based Services (LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรใดๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ ลักษณะบริการที่พบเห็นบ่อยคือคำถาม “ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน?” “จะไปที่สถานที่ที่ต้องการได้อย่างไร?” “มีอะไรอยู่แถวนี้บ้าง?” ซึ่งเป็นการค้นหาสถานที่ คนสัตว์ หรือ สิ่งของ

บริการเครือข่ายสังคม (social network service)เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตเขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับ
ความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูป
ฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊กออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็น
เว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกม


ความแตกต่างระหว่าง e-commerce กับ e-business
• พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์(ECRC Thailand,1999)
• พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
• พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลายเช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร,คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)


• พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)
• พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์,การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ,การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค,อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข,การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)

e-commerce คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electroniccommerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทาง ที่เ ป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลงเช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขายพนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้



E-business คืออะไร
e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

BI=Business Intelligence:
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน

EC=E-Commerce:
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต



CRM=Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า

SCM=Supply Chain Management:
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค

ERP=Enterprise Resource Planning:
กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

ตัวอย่าง เว็บ e-commerce



บทที่ 2 E-business infrastructure




E-business infrastructure
หมายถึง การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งาน ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวม ถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้านHardware, Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึง กระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business



Internet technology
Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอปุกรณ์มือถือที่มีผู้ใช้ ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรม ประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client /Server


Web technology

• คำว่า World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ตโดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext MarkupLanguage)

หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้พัฒนา เว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ

โปรโตคอล (Protocal) - มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล



Internet-access software applications
• Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0
 Blog
 Internet Forum
   - Wiki
 Instant Message
 Folksonomy



Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0

 Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) )เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยียมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็ นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ส่วนมากจะใช้ภาษา html เป็นภาษา
สำหรับการพัฒนา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปโดยทำใน ลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล
 Web 2.0 คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นการพัฒนาต่อจาก web 1.0 สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้องด้วย
 Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่
ในรูปแบบ Metadata หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segment ที่มีบุคคลแค่คนเดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล
เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย
1. AI (Artificial Intelligence)
2. semantic web
3. Automated reasoning
4. semantic wiki
5. ontology language หรือ OWL

Networking standards
เป็นขบวนการที่เกียวข้องกับทุกๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP protocol

TCP/IP
โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจาก เมื่อโปรโตคอลอื่นๆ ต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล (encapsulation) ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง(route service) ผ่าน Gateway หรือ Router เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทาง จะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้น


The HTTP protocol
HTTP มาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็น protocol ที่ใช้ในการส่งเดต้าต่าง ๆ ในโลกของ World Wide Web เดต้าต่างๆ เหล่านี้โดยทั่ว ไปมักจะถูกเรียกว่า Resource โดย Resource เหล่านี้อาจจะเป็นไฟล์ เช่น HTML ไฟล์, image ไฟล์ หรือคำสั่งต่างๆ (Query String)

Uniform resource locators (URLs)
คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไปมักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมาย ที่คล้ายกับยูอาร์ไอ ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสนในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือที่อยู่อินเตอร์เน็ตก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียก ข้อมูลจากเว็บไซต์

Domain names
คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการชื่อเว็บไซต์ คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อโดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป

บทที่ 3 Business Environment and E-business strategy



Business Environment

นักปราชญ์ชาวจีนนาม ซุนวูได้กล่าวไว้ในตําราพิชัยสงครามว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คํากล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกําหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการจัดการธุรกิจ การที่จะ  “ รู้เขา ” ได้นั้นจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเสียก่อน ส่วนการ “รู้เรา” ก็คือการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในเป็นลําดับถัดมานั่นเอง การแข่งขันกันในเชิงธุรกิจผู้ที่จะชนะและสามารถครอบครองตลาดได้นั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในก่อนการลงสนาม

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่-สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกําหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนําไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน-สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External  Environment  ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment)                
คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมแบ่งออกเป็น กลุ่ม                
ตลาด หรือลูกค้า (Market)                
ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)                
คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)                
สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)                
คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4ประการ ได้แก่
-ด้านการเมืองและกฎหมาย                
เศรษฐกิจ                
สังคม               
-เทคโนโลยี



SWOT     
           
S (Strengths) จุดแข็ง เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ  
              
W (Weaknesses) จุดอ่อน เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดไว้บางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข    
            
O (Opportunities) โอกาส เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ  
             
 T (Threats) อุปสรรค เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย



E-business strategy

คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้แบบจําลองทางธุรกิจเป็นจริงได้ ทํายังไงให้การสร้างมูลค่านั้นเป็นจริงได้ แล้วทํายังไงที่จะส่งมูลค่านั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทํายังไงให้มันแตกต่าง การทําธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่างอย่้างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทําธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้

-Strategic evaluation 
กลยุทธ์การประเมิน

-Strategic objectives  
กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์

-Strategy definition  
กลยุทธ์การกําหนดนิยาม

-Strategy implementation  
กลยุทธ์การดําเนินงาน

ความหมายของ Strategy
การกำหนดทิศทาง และ แนวทางในการปฏิบัติ ในอนาคต ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้ความหมายของ E-Strategyวิธีการที่จะทำให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการนำการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร




กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
         กลยุทธ์ เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงานด้านต่างๆขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจำเป็นไม่แพ้กันสรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้


องค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์        
 การสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม

E-Channel ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้าทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกำหนดวิธีการที่ใช้ทำงานร่วมกับช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์ E-Business


 Strategic Implementation การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการการปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้างระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การและ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ


บทที่ 4 E-Commerce

บทที่ 4
E-COMMERCE



ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC BUSINESS)
      ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

e-Service
e-Commerce
e-Business
e-System

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC COMMERCE)
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์(ECRC Thailand,1999) 
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขายหรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998) 
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์การค้าอิเล็กทรอนิกส์อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์,ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โทรสารคะตะล๊อกอิเล็กทรอนิกส์,การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998) 
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997) 
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์การประมูล,การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกันการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐการขายตรงการให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภคอุปกรณ์ทางการแพทย์และบริการ (เช่นบริการขายข้อมูลบริการด้านการเงินบริการด้าน กฎหมายรวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่นสาธารณสุขการศึกษาศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)
สรุป
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุหรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่นทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้




การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
  •  การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
  • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
  • การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
  • รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
  • การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่(M-Commerce : Mobile Commerce)
  
โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
  • ระบบเครือข่าย (Network)
  • ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
  • การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
  • การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
     ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion




Business Model of E-Commerce
Brick – and – Mortar Organization
Old-economy organizations (corporations) that perform most of their
business off-line ,selling physical product by means of physical agent.
Virtual Organization
Organization that conduct their business activities solely online.
Click – and – Mortar Organization
Organization that conduct some e-commerce activities , but do their
primary business in the physical world.

ประเภทของ E-Commerce
Business Computer Department Chiangmai Rajabhat University Mr. Chayaphat Phumchun
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Customer (B2C)
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
4. Customer-to-Customer (C2C)
5. Customer-to-Business (C2B)
6. Mobile Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
2. Business-to-Employee (B2E)
3. Government-to-Citizen (G2C)
4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
5. Exchange-to-Exchange (E2E)
6. E-Learning

E-Commerce Business Model
Business Computer Department Chiangmai Rajabhat University Mr. Chayaphat Phumchun
แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึง
วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิกในการศึกษาได้แก่ AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal(หนังสือพิมพ์), JobsDB.com (ข้อมูลตลาดงาน), และBusiness Online (ข้อมูลบริษัทธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น รายได้จากการโฆษณา หรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือการมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจาผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้ เช่น AOL รักษาฐานลูกค้าของตนด้วยหมายเลขอีเมล์หรือหมายเลข ICQ ซึ่งลูกค้าที่ใช้บริการไปแล้วระยะหนึ่งไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจที่มีรายได้จากสมาชิกยังสามารถใช้ฐานลูกค้าของตนที่มีอยู่ขยายต่อ ไปยังธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ เช่น AOL ใช้ฐานสมาชิกของตนในการหารายได้จากการโฆษณาออนไลน์ และธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerce อื่น ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น), และ FedEx (บริการจัดส่งพัสดุปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัว และมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากเรามองว่าธุรกิจ E-Commerce มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาวธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว

ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ในกรณีศึกษาได้แก่ Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย), 1-800-Flowers (ดอกไม้),Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณีรายได้หลักของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาจากการจำหน่ายสินค้า ในช่วงแรกผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ มักคาดหวังว่า การประกอบการโดยไม่ต้องมีร้านค้าทางกายภาพจะช่วยให้ตนมีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถขายสินค้าให้แก่ ลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาต่อมาเราจะพบว่า ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า เราจึงพบว่าธุรกิจค้าปลีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้างร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม

ตัวอย่างของธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar ได้แก่การที่ Amazon ได้ลงทุนสร้างคลังสินค้าและพยายามทำความตกลงเป็นพันธมิตร กับ Walmart ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่มีช่องทางจัดจำหน่าย ในขณะเดียวกัน เรายังเห็นแนวโน้มของการที่ร้านค้าปลีกแบบเดิมเช่น 7-Eleven หันมาประกอบธุรกิจออนไลน์ด้วย ดังตัวอย่างของ 7dreamซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากการมีร้านค้าทางกายภาพ และการทำธุรกิจออนไลน์ ร่วมกัน

ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมาก เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวทำได้ง่าย ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง และมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าโฆษณาที่ยังคงสามารถทำกำไรได้ คือ Yahoo! ซึ่งเป็นเว็บท่า (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานานและมี ต้นทุนในการสร้างเนื้อหาน้อย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือGreater Good ซึ่งเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากการแนะนำลูกค้าให้แก่เว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งคล้ายกับการหารายได้จากค่าโฆษณา

บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ในกรณีศึกษา ได้แก่ MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov (การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐและ e-Citizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชนบริการในกลุ่มนี้มักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ(e-Citizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน (MERX) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ (Buyers.Gov) เป็นต้น ปัจจัยในความสำเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการศึกษาความต้องการของประชาชนหรือผู้ใช้บริการ แล้วออกแบบระบบให้มีความสอดคล้องกับความต้องการนั้น นอกจากนี้ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งต่อความสำเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ การกำหนด มาตรฐานของข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ของบริการต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันให้มีความสอดคล้องกันเช่น ในกรณีของ e-Citizenซึ่งสามารถ ทำให้เกิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (Single Stop Service)

ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้าตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่ Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์)และPriceline (สินค้าท่องเที่ยวเป็นต้น รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่งคือแบบ C2C ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลดังกล่าวนี้คือ Ebay ซึ่งเป็นตลาดประมูลออนไลน์ที่มีชื่อเสียง และมีผลประกอบการที่ได้กำไรตั้งแต่ปี 1996 ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก ส่วนปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างของธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ในกรณีศึกษาได้แก่ Paper Exchange (กระดาษ),Food Market Exchange (อาหาร), Double Click (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และTranslogistica (ขนส่งทางบกธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขาย (Independent Market Maker) อย่างไรก็ตามต่อมาพบว่า ผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อหรือผู้ขายให้เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้ ในช่วงหลังเราจึงเริ่มเห็นผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือกลุ่มของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่รวมตัวกันในลักษณะของ consortium เป็นแกนกลางในการบริหารตลาดกลางเอง โดยชักชวนให้ซัพพลายเออร์และลูกค้าของตนเข้าร่วมในตลาด ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง(liquidity)มากพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ หรือผู้ขายแล้วแต่กรณี


ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CustomerRelationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษาได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า

ส่วนตัว อย่างของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่นำเสนอในการศึกษาได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน) Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance (ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศและ Cement Thai Online(อุปกรณ์ก่อสร้างระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงาน หรือสำนักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจาก E-Commerce จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากธุรกิจไม่มีระบบภายใน (Back Office) ที่พร้อม ซึ่งถือเป็นปัจจัยในความสำเร็จที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง

ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ


ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน